เนื่องจากปัจจุบัน เสาเข็มไมโครไพล์ และ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ เป็นเสาเข็มที่นิยมมากในงานก่อสร้างอาคารต่างๆ หรือแม้แต่การต่อเติมบ้าน, ห้องครัว, ห้องนั่งเล่น, ศาลาชมสวน, ระเบียง, ห้องทำงานส่วนตัว หรือแม้กระทั่งสระว่ายน้ำ แต่ด้วยพื้นที่ที่จำกัด ทำให้เสาเข็มชนิดอื่นทำงานได้ลำบาก เพราะฉะนั้นเราจึงเล็งเห็นว่า เสาเข็มไมโครไพล์ น่าจะตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีที่สุด เพราะนอกจากจะสะดวกในการใช้งาน มีความสามารถไม่ต่างจากเสาเข็มชนิดอื่นแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนให้กับลูกค้าที่มีงบประมาณที่จำกัดได้เป็นอย่างมาก
เสาเข็มไมโครไพล์
เสาเข็มไมโครไพล์ (MICROPILE) เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (SPUN MICROPILE) ราคาถูก มาตรฐาน มอก.
ข้อมูลเบื้องต้นของเสาเข็มไมโครไพล์
เสาเข็มไมโครไพล์ คือเสาเข็มขนาดเล็กที่มีขนาดหน้าตัดเสาเข็มน้อยกว่า 25 เซนติเมตร หรือถ้าเป็น เสาเข็มสปันไมโครไพล์ ส่วนมากก็จะนิยมใช้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร ใช้กับงานโครงสร้างขนาดเล็กที่ต้องการความสามารถในการรับน้ำหนักประมาณ 20-30 ตันต่อต้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ ลดแรงสั่นสะเทือนขณะทำการตอกและ เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่หน้างาน
เสาเข็มไมโครไพล์ ที่นิยมใช้กับงานตอกเสาเข็มบ้าน อาคาร จะมีลักษณะคล้ายรูปตัวไอ มีความยาว 1.5 เมตร มีทั้งขนาดหน้าตัด 18×18 ซม. และ 22×22 ซม. ซึ่งทางศัพท์ช่างจะเรียกว่า เสาเข็มไอไมโครไพล์ หรือถ้าเป็น เสาเข็มสปันไมโครไพล์ ส่วนมากก็จะนิยมใช้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร ซึ่งศัพท์ช่างที่นิยมกันนั้นจะเรียกได้หลายคำ อาทิ เสาเข็มสปัน, สปันไมโครไพล์, เข็มสปันไมโครไพล์ เป็นต้น
ยกตัวอย่างโครงสร้างภายใน เสาเข็มไอไมโครไพล์ ขนาดหน้าตัด 18×18 ซม.
ภายในจะประกอบด้วยโครงสร้างเหล็กและคอนกรีต ดังนี้
โครงสร้างเหล็ก
- ใช้เหล็กขนาด 9 มม. จำนวน 4 เส้น
- ใช้ปลอกเหล็กรูปตัวไอ ขนาด 4 มม. 13 ชิ้น
- ใช้เพลทเหล็กหนา 4 มม.
โครงสร้างคอนกรีต
- ใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดไม่น้อยกว่า 400 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
คุณลักษณะเด่นของเสาเข็มไมโครไพล์
- รับน้ำหนักได้เหมือนเสาเข็มปกติ
- สามารถตอกได้ลึกจนถึงชั้นดินดาน และสามารถตรวจสอบได้
- มีการทรุดตัวน้อย หรือทรุดตัวใกล้เคียงกับเสาเข็มขนาดยาวที่ตอกโดยทั่วไป
- สามารถทำงานในพื้นที่จำกัด เพราะเราใช้ปั้นจั่นที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
- มีแรงสั่นสะเทือนน้อย ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
- สามารถเลือกขนาดและความลึกของการตอกได้ ตามที่วิศวกรคำนวณ
- สามารถรับน้ำหนักได้ทันทีเมื่อติดตั้งแล้วเสร็จ
- สามารถตอกชิดกำแพงหรือผนังบ้านได้ โดยไม่ทำให้โครงสร้างเดิมหรืออาคารข้างเคียงแตกร้าว
- พื้นที่หน้างานจะสะอาดกว่าใช้เสาเข็มปกติทั่วไป
- ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง หมดปัญหากับเพื่อนบ้าน
โดยขนาดของเสาเข็มเจาะที่จะใช้นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ค่าการรับแรงของดินบริเวณนั้น , ขนาดของอาคาร , การรับน้ำหนักของอาคาร ฯลฯ และความลึกของเสาเข็มเจาะนั้นขึ้นอยู่กับระดับชั้นดินและชั้นทรายในแต่ละพี้นที่ เราจึงจำเป็นต้องมีวิศวกรเพื่อคำนวณหาการใช้เสาเข็มเจาะที่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม